สร้างบรรยากาศเชิงบวกในห้องเรียนอย่างไรให้ผ่าน วPA
เทคนิคสำคัญในการสร้างบรรยากาศเชิงบวกในห้องเรียนเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียนจนสามารถเอาชนะใจกรรมการการประเมินจนผ่าน วPA นั่นคือต้องตรงตามโจทย์ของ วPA ในเวลาเลือกหน่วยการเรียนต้องเลือกหน่วยการเรียนที่เหมาะสมมีการสร้างบรรยากาศที่ดีเป็นบรรยากาศเชิงบวกจนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนในการเรียนรู้
- ออกแบบขั้นตอนกระบวนการเรียนให้น่าสนใจให้ดูดีเป็นห้องเรียนแห่งความสุข สนุกในการเรียนรู้
- ต้องสามารถตอบโจทย์ตัวชี้วัดของวPA นั่นคือแผนการสอนกับคลิปจะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กันให้ดูเป็นธรรมมชาติของการเรียนการสอนให้ไหลลื่นเป็นไปด้วยความสุขให้ออกมาเป็นธรรมชาติไม่เหมือนกับเป็นการแสดงดังนั้นครูจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดีทำการสอนตามปกติ ไม่ตื่นเต้น ไม่เกร็ง บรรยากาศก็จะเป็นไปด้วยความสุขและเป็นธรรมชาตินั่นคือครูต้องเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด
- ครูต้องรู้จักคุ้นเคยกับนักเรียนเป็นอย่างดี เห็นศักยภาพของนักเรียนรู้จุดเด่นจุดด้อยของนักเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน เข้าขากันเป็นอย่างดีจนสามารถเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เลือกเรื่องที่เคยสอนก่อนหน้านี้ นักเรียนเคยเรียนรู้มาบ้างแล้วจะง่ายต่อการจัดกิจกรรมเพราะจะทำให้บรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปอย่างธรรมชาติเด็กๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและเรียนรู้อย่างมีความสุข
- การทำห้องเรียนให้มีพื้นที่ความปลอดภัย เป็นบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแท้จริง
การจัดห้องเรียนแบบธรรมชาติพื้นที่ปลอดภัย นั่นคือพื้นที่ที่เด็กสบายใจมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่เด็กมีตัวตนในชั้นเรียนมีความไว้วางใจและปลอดภัยในการเรียนรู้ คือ พื้นที่นักเรียนรู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการแสดงออกทางความคิดเป็นพื้นที่ที่ทุกคนต่างเห็นคุณค่าของกันและกันเคารพในความต่างเปิดกว้างและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันไม่มีการจัดอันดับหรือแบ่งแยกให้รู้สึกด้อยค่าพื้นที่ที่สามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาดและมีโอกาสให้เด็กๆเสมอเป็นพื้นที่ที่ให้นักเรียนมีอิสระในการคิดและมีโอกาสในการสื่อสารทั้งความสำเร็จหรือข้อผิดพลาดของผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นจนกลายเป็นบรรยากาศเชิงบวกเพื่อสร้างห้องเรียนสมรรถนะ วPA ร่วมกันซึ่งพื้นที่ปลอดภัยอาจจะแบ่งเป็น 2 ด้านคือ
1.ด้านโครงสร้างในห้องเรียนหรือด้านกายภาพ ต้องเป็นห้องเรียนที่สะอาด ผ่อนคลาย เด็กมีความสบายใจ รู้ถึงความปลอดภัย เด็กจะรู้สึกว่าในห้องเรียนเหมือนบ้านที่เขาอาศัยอยู่
2.ด้านความรู้สึก (FEELING) นักเรียนรู้สึกวางใจ ปลอดภัยและมีความสุขในการเรียน ทำให้นักเรียนกล้าที่จะถาม แสดงความเห็น และให้ความร่วมมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น
เด็กทุกคนมีคุณค่าเวลาใครเห็นค่าของเราเรารู้สึกดี ดังนั้นครูจะต้องเห็นคุณค่าของเด็กว่าเด็กมีความสามารถด้วยกันทุกคนอาจจะมากหรือน้อยแตกต่างกันแต่ครูต้องเข้าใจเด็กให้มากที่สุดเพราะครูเป็นบุคคลสำคัญยิ่งในการที่จะสร้างเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเองเพราะเมื่อนักเรียนเห็นคุณค่าของตนเองแล้วนั้นจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้นักเรียนแล้วยังส่งผลที่ดีต่อการสอนของครูได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เห็นได้ว่าการสร้างบรรยากาศเชิงบวกในชั้นเรียนก็คือการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนเพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียนให้เรียนรู้ได้อย่างมีความสุขเป็นบรรยากาศที่มีความปลอดภัยและมีความสุขของนักเรียน
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่
• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz
• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019
• YOUTUBE : Starfish Labz Channel
วิดีโอใกล้เคียง
เทคนิคการเชื่อมโยงด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ให้ร้อยรัดกัน
ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
คิดค้นและปรับเปลี่ยน โจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA
คอร์สใกล้เคียง
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู