"ผู้บริหารกับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน วPA ในโรงเรียน"
ตามที่ ก.ค.ศ. ได้นำแบบประเมินวิทยฐานะ วPA รูปแบบใหม่มาใช้กับครูทั่วประเทศ เพื่อให้ได้เกณฑ์แบบประเมิน ที่มีมาตรฐานและตรงตามเป้าหมายในการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา
ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น ผู้บริหารโรงเรียน ถือได้ว่าเป็นบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญ
ในการขับเคลื่อนกระบวนการต่าง ๆ ในโรงเรียนให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งการพูดคุยในครั้งนี้ เป็นการแชร์ประสบการณ์ของผู้บริหารโรงเรียน กับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน วPA ในโรงเรียน ของ ดร.นฤภพ ขันทับไทย ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนศึกษานารีวิทยา
และดร.ภารดี ผางสง่า ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทรารามเพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้ให้มีความสอดคล้องตามบริบทของแต่ละโรงเรียน
สำหรับจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อน วPA ซึ่งเป็นแนวทางการประเมินรูปแบบใหม่ ทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการ ทำให้พบปัญหาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร ความเข้าใจของครู การออกแบบรูปแบบการประเมินครู ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และการขยายผล จากปัญหาดังกล่าว ทำให้การทำ PA ในรอบแรก ได้มีการนำเอาธรรมชาติของโรงเรียนมาใช้กับการประเมิน PA1 ต่อมาคือ การนำการนิเทศมาผนวกเข้ากับการประเมิน PA1 โดยใช้แบบประเมิน PA2 ให้เป็นเนื้อหาเดียวกัน พร้อมกับการมุ่งเน้นในห้องเรียนมากขึ้น เพื่อให้ครูเกิดความคุ้นชิน และเป็นธรรมชาติที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน แต่สิ่งที่สำคัญคือ Mindset ของผู้บริหารในการเข้าใจ เปิดใจให้กับหลักเกณฑ์ว่า เกณฑ์ต้องการอะไรและตอบสนองตามเกณฑ์นั้น ๆ ทั้งนี้ การดำเนินการขับเคลื่อนข้อตกลงในการพัฒนางาน เริ่มจากบทบาทของสถานศึกษา โดยการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา การประกาศกำหนดชั่วโมงภาระงาน ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด กำหนดงานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐาน ตำแหน่งตามบริบทของสถานศึกษา ประกาศค่าเป้าหมายของสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ (PA) และแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ (PA) ส่วนบทบาทของครู คือ การศึกษาเอกสารคู่มือ ว9/2564 การตรวจสอบคุณสมบัติตนเอง การเขียนข้อตกลงฯ เสนอผู้อำนวยการสถานศึกษา ดำเนินการตามข้อตกลงฯ (PA) ให้บรรลุตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินฯ สำหรับกระบวนการดำเนินงานขับเคลื่อน PA ได้แก่ การอบรม PA เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คณะครูบุคลากรในโรงเรียน กำหนดค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด และชั่วโมงภาระงานของสถานศึกษา กำหนดประเด็นท้าทายกลุ่มสาระฯ อบรมการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน ฯลฯ
เห็นได้ว่า การประเมินรูปแบบใหม่ มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง สิ่งที่ผู้บริหารสามารถทำได้ คือการสร้างขวัญ กำลังใจ การเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และให้ความรู้แก่ครู บุคลากรในสถานศึกษาให้มีความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้องและถ่องแท้
ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น ผู้บริหารโรงเรียน ถือได้ว่าเป็นบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญ
ในการขับเคลื่อนกระบวนการต่าง ๆ ในโรงเรียนให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งการพูดคุยในครั้งนี้ เป็นการแชร์ประสบการณ์ของผู้บริหารโรงเรียน กับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน วPA ในโรงเรียน ของ ดร.นฤภพ ขันทับไทย ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนศึกษานารีวิทยา
และดร.ภารดี ผางสง่า ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทรารามเพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้ให้มีความสอดคล้องตามบริบทของแต่ละโรงเรียน
สำหรับจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อน วPA ซึ่งเป็นแนวทางการประเมินรูปแบบใหม่ ทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการ ทำให้พบปัญหาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร ความเข้าใจของครู การออกแบบรูปแบบการประเมินครู ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และการขยายผล จากปัญหาดังกล่าว ทำให้การทำ PA ในรอบแรก ได้มีการนำเอาธรรมชาติของโรงเรียนมาใช้กับการประเมิน PA1 ต่อมาคือ การนำการนิเทศมาผนวกเข้ากับการประเมิน PA1 โดยใช้แบบประเมิน PA2 ให้เป็นเนื้อหาเดียวกัน พร้อมกับการมุ่งเน้นในห้องเรียนมากขึ้น เพื่อให้ครูเกิดความคุ้นชิน และเป็นธรรมชาติที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน แต่สิ่งที่สำคัญคือ Mindset ของผู้บริหารในการเข้าใจ เปิดใจให้กับหลักเกณฑ์ว่า เกณฑ์ต้องการอะไรและตอบสนองตามเกณฑ์นั้น ๆ ทั้งนี้ การดำเนินการขับเคลื่อนข้อตกลงในการพัฒนางาน เริ่มจากบทบาทของสถานศึกษา โดยการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา การประกาศกำหนดชั่วโมงภาระงาน ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด กำหนดงานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐาน ตำแหน่งตามบริบทของสถานศึกษา ประกาศค่าเป้าหมายของสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ (PA) และแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ (PA) ส่วนบทบาทของครู คือ การศึกษาเอกสารคู่มือ ว9/2564 การตรวจสอบคุณสมบัติตนเอง การเขียนข้อตกลงฯ เสนอผู้อำนวยการสถานศึกษา ดำเนินการตามข้อตกลงฯ (PA) ให้บรรลุตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินฯ สำหรับกระบวนการดำเนินงานขับเคลื่อน PA ได้แก่ การอบรม PA เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คณะครูบุคลากรในโรงเรียน กำหนดค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด และชั่วโมงภาระงานของสถานศึกษา กำหนดประเด็นท้าทายกลุ่มสาระฯ อบรมการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน ฯลฯ
เห็นได้ว่า การประเมินรูปแบบใหม่ มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง สิ่งที่ผู้บริหารสามารถทำได้ คือการสร้างขวัญ กำลังใจ การเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และให้ความรู้แก่ครู บุคลากรในสถานศึกษาให้มีความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้องและถ่องแท้
วิดีโอใกล้เคียง
05:55
นวัตกรรม ตัวเราและวิถีชีวิตในชุมชนบ่อแก้ว ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PCDNS
31
views
•
17 วันที่แล้ว
11:05
Disruptive Edtech : พลิกโฉมการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการศึกษา
51
views
•
11 วันที่แล้ว
01:13:45
สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้: การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง
51
views
•
12 วันที่แล้ว
13:20
Future of work : ทลายกรอบ พลิกโฉมการทำงานยุคใหม่
119
views
•
16 วันที่แล้ว